ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    048798 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยชาวนา กศน.18 กุมภาพันธ์ 2556

    คำถาม
    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

    กราบเรียนท่านอาจารย์มีชัย  ฤชุพันธ์  ด้วยความเคารพ

             ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจ  กระผมอยากจะขออนุญาตกราบเรียนเรียกท่าน  ว่า  "คุณครู "   เพราะท่านเป็นครูของแผ่นดิน  เป็นปูชนิยบุคคล  ที่หลายคนกราบไหว้  เคราพบูชาท่าน   ท่านให้ความรู้กับคนทั้งประเทศ   ซึ่งความรู้ต่าง ๆ  เหล่านี้  ไม่มีสอนในบทเรียนทั่ว ๆ  ไป  ทั้ง ๆ  ที่บางเรื่อง  เป็นกฎหมายใกล้ตัวที่ประชาชนควรทราบ  (แต่ถ้าประชาชนรู้มาก  อาจจะปกครองยาก) จากการที่ได้อ่านคำถามจากประชาชนทั่วประเทศ  ที่กราบเรียน  ปรึกษาขอความเห็น  ขอคำแนะนำจากท่าน  ท่านก็กรุณาตอบให้  ช่วยชี้ทางสว่างในด้านกฎหมายให้ประชาชนทราบ  เกิดความสบายใจ   และนำข้อคำตอบจากท่าน  ไปพิจารณา  แก้ปัญหาชีวิต  ท่านมีพระคุณกับทุก ๆ คน  เป็นบุญกุศลอันสูงส่งของท่านครับ  ผมยกมือวันทา  อนุโมนนากับท่านด้วย

              โดยความจำเป็นที่กระผมต้องพยายามศึกษา  อ่านรัฐธรรมนูญ  อ่านกฎหมายทั้งกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่งบางมาตรา  โดยการศึกษา  ค้นคว้าตามอินเตอร์เนต ผมได้ความรู้จากการตอบคำถามของท่านมากมาย  แต่อย่าง  ไม่สามารถเข้าใจแจ่มแจ้ง  เพราะไม่ใช่นักกฎหมาย ต้องพยายามค้นคว้าเพิ่มเติม ขออนุญาตรบกวน  กราบเรียนปรึกษา  ขอข้อแนะนำจากท่าน  ดังนี้ครับ

    1.  ตาม ปพพ. มาตรา  1330 บัญญัติว่า  :  สิทธิของบุคคลที่ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายทอดตลาด  ตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์  ในคดีล้มละลายนั้นท่านว่า  มิเสียไป  ถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่า ทรัพย์สินนั้นมิใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้โดยคำพิพากา หรือผู้ล้มละลาย"  การที่ประชาชนซื้อทรัพย์สิน  เช่นบ้าน  ที่ไร่  ที่สวน  ที่อาศัย  ที่นา ฯลฯ โดยสุจริตในการขายทอดตลาด  ตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์  ประชาชนต้องมีเอกสิทธ์ตาม มาตรานี้ โดยที่ไม่อาจมีใครแย่งกรรมสิทธ์ไปได้  ใช่หรือไม่ครับ  หากหน่วยงานของรัฐ  หรือองค์กรท้องถิ่น  ทำการแย่ง  บุกรุก  ละเมิดกรรมสิทธ์ของประชาชน   ตามปพพ. มาตรา  1330  เช่น หน่วยงานของรัฐ  หรือองค์กรท้องถิ่น  ทำโครงการขุดคลองบุกรุก  ละเมิดผ่านที่นาของประชาชน  ราษฎร โดยที่ประชาชนไม่อนุญาต  ไม่ยอม   มีระเบียบกฏหมายใด รองรับการกระทำของหน่วยงานของรัฐ  หรือองค์กรท้องถิ่นนั้น ๆ  บ้าง  ตามกฎหมายใด  มาตราใด

    2.ถ้าหน่วยงานของรัฐ  หรือองค์กรท้องถิ่น ขุดคลองบุกรุก  ละเมิดผ่านที่นา  ที่สวน  ที่ไร่  ที่อาศัยของประชาชน  ราษฎร โดยที่ประชาชนไม่อนุญาต  ไม่ยอม  ดังเช่นที่ยกมาในข้อ  1 และอ้างมตรา 1330  ต่อมาประชาชน  ราษฎร  เจ้าของกรรมสิทธ์   ทำการถมคลองที่เกิดจาก องค์กรท้องถิ่น  ขุดคลองบุกรุก  ละเมิดผ่านที่นาของประชาชน  ราษฎร   กลับถูก หน่วยงานของรัฐ  หรือองค์กรท้องถิ่น แจ้งความ  ฟ้องร้องคดีอาญากับประชาชนว่า  บุกรุก  ละเมิด  ถมคลองสาธารณะ   ประชาชนถูกพิพากษาว่ามีความผิดอาญา   หนำซ้ำ  หน่วยงานของรัฐ  หรือองค์กรท้องถิ่น แจ้งความ  ฟ้องร้องคดีอาญาแพ่งประชาชน เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากประชาชนต่าง ๆ  นา ๆ เช่นให้ถมคลองคืน  ให้ชดใช้ค่าทนาย  ฯลฯ  เป็นการยุติธรรมกับประชาชนหรือเปล่าครับ 

    3. การที่ประชาชนต้องเสียภาษีให้รัฐ  หรือองค์กรท้องถิ่น   แต่รัฐ  หรือองค์กรท้องถิ่นกลับเอาเงินที่ประชาชนต้องเสียภาษีให้  มาจ้างทนายฟ้องร้องทำร้ายประชาชน   แถมยังจะให้ประชาชนใช้เงินสินไหมทดแทนในการที่องค์กรท้องถิ่นเอาเงินที่ประชาชนต้องเสียภาษีให้ว่าจ้างทนาย หรือจ้างอัยการว่าความ  เท่ากับเอาเงินประชาชน  เล่นงานประชาชน ยุติธรรมกับประชาชนหรือเเปล่าครับ  ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  หมวด  1  บททั่วไป  มาตรา  4 : ศักด์ศรีความเป็นมนุษย์  สิทธิ  เสรีภาพความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง  ตามที่กราบเรียนปรึกษาในข้อ  1,2  ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องท่านคำนึงถึง  ปพพ. มาตรา  1330  หรือไม่อย่างไร  หรือมาตรานี้  ไม่คุ้มครองประชาชน  คุ้มครองเฉพาะรัฐ  คนของรัฐ

    4. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  หมวด  3  สิทธิ เสรีภาพของปวงชนชาวไทย  ส่วนที่  1  มาตรา  26  :  การใช้อำนาจ  โดยองค์กรของรัฐต้องคำนึงถึงศักด์ศรีความเป็นมนุษย์  สิทธิ  เสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้: คำถามในข้อ  1 - 3  มีผลเกี่ยวโยงกับมาตรานี้อย่างไรครับ  รัฐ  นึกถึงประชาชน  คุ้มครองประชาชนหรือไม่ 

    5.ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  หมวด  3  สิทธิ เสรีภาพของปวงชนชาวไทย  ส่วนที่  1  มาตรา  28  : บุคคลย่อมอ้างศักด์ศรีความเป็นมนุษย์  หรือใช้สิทธิ  เสรีภาพของตนได้  เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิ เสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรับธรรมนูญหรือไม่ขัดศีลธรรมอันดีของประชาชน    แต่รัฐละเมิดสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ที่มีกรรมสิทธ์ตามปพพ.มตรา 1330 ไม่ผิดกฎหมายหรือ

    5.ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  หมวด  3  สิทธิ เสรีภาพของปวงชนชาวไทย  ส่วนที่  5  มาตรา  81  : รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม  ดังต่อไปนี้......

    (2)  คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้พ้นจากการล่วงละเมิดทั้งโดยจากเจ้าหน้าที่ของรัฐและโดยบุคคลอื่นและต้องอำนวยความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกันอ้างถึงปพพ. มาตรา  1330  ตามคำถามข้อ  1  -  5  นอกจากรัฐไม่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้พ้นจากการล่วงละเมิดทั้งโดยจากเจ้าหน้าที่ของรัฐและโดยบุคคลอื่นและต้องอำนวยความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกันแล้ว   เมื่อประชาชนจะฟ้องร้องรัฐ  หรือองค์กรท้องถิ่น   กลับถูกเยาะเย้ย  ถากถางว่าให้ไปฟ้องร้องเอากับศาลเจ้า  หรือศาลพระภูมิ  ประชาชนไม่มีสิทธ์ฟ้องรัฐ  หรือองค์กรท้องถิ่นต่อศาลยุติธรรมเลยหรือ  อาจเป็นเพราะประชาชนไม่มีเงินจึงต้องฟ้องร้องเอากับศาลเจ้า  หรือศาลพระภูมิ  ถ้าฟ้องรัฐต้องจ้างทนาย  เพราะอัยการไม่มีหน้าที่ว่าความให้ประชาชน  มีหน้าที่ฟ้องประชาชน อัยการเป็นทนายของรัฐ  กินเงินเดือนและมีผลประโยชน์ตอบแทนจากรัฐ  ประชาชนเซ่นไหว้ศาลเจ้า  หรือศาลพระภูมิ  ต้องฟ้องศาลเจ้า  หรือศาลพระภูมิ 

    6.  ปพพ. มาตรา  420 :  ผู้ใดจงใจ  หรือประมาทเลอนเล่อ  ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก้ดี แก่ร่างกาย อนามัย หรือเสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสทธิอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี  ท่านว่า ผู้นันทำละเมิดจำต้องใช้สินไหมทดแทนเพื่อการนั้น  ถ้า รัฐ  หรือองค์กรท้องถิ่นทำผิดมาตรานี้  รัฐ  หรือองค์กรท้องถิ่น จำต้องใช้สินไหมทดแทนเพื่อการนั้น แก่ประชาชนหรือไม่

    7.  ปพพ. มาตรา  420 :  การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น  ท่านว่า  เป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย  ตามคำถาม ข้อ  6 รัฐ  หรือองค์กรท้องถิ่น จำต้องใช้สินไหมทดแทนเพื่อการนั้น แก่ประชาชนหรือไม่  ถ้ารัฐรัฐ  หรือองค์กรท้องถิ่น จำต้องใช้สินไหมทดแทนเพื่อการนั้น แก่ประชาชนที่ถูกกระทำจากรัฐ   ประเทศไทยคงล่มจม  เพราะไม่มีเงินใช้สินไหมทดแทนเพื่อการนั้น แก่ประชาชน    เมื่อประชาชนมีคดีความกับรัฐ  อัยการ,ศาลต้องเข้าข้างรัฐเสมอไปหรือไม่

    8.ปพพ. มาตรา  424   ในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิดและกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น  ท่านว่าศาลไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญาอันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษ และไม่จำเป็นต้องพิเคราะหืถึงการที่ผู้กระทำผิดต้องคำพิพากาลงโทษตามอาญาหรือไม่  

      กระผมชาวนา  กศน.  อ่านแล้วไม่เข้าใจ (งง)ครับ  ขอความเมตตาท่านกรุณาอธิบายให้ชัดเจนด้วยครับ  ครู  กศน. ตอบไม่ได้ครับ

    9.ปพพ. มาตรา  424   : ถ้าบุคคลหลายคน (ข้าราชการของรัฐ  หรือองค์กรท้องถิ่น )  ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยร่วมกันทำละเมิด  บุคคลเหล่านั้นต้องช่วยกันรับผิด ใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น  ความนี้  ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่ไม่สามารถรู้ตัว  สืบได้แน่ใจในพวกที่ทำละเมิดร่วมกันนั้น  คนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นด้วย  ร่วมกันทำผิดต่อประชาชนมากอย่างนี้  กราบเรียนถามความรู้สึกท่านอาจารย์มีชัย  ท่านจะเข้าข้างใครดีครับ  รัฐ  หรือประชาชน

            ประชาชนจะต้องพึ่งศาลเจ้า  หรือศาลพระภูมิอย่างเดียวเท่านั้นหรือ ในการฟ้องร้อง  ร้องเรียนจอความเป็นธรรม?

               กราบขอบพระคุณด้วยความเคารพอย่างยิ่งครับ

     

     

    คำตอบ

    ๑. ถ้าเรามีกรรมสิทธิในที่ดิน ใครเข้ามาบุกรุก ก็มีความผิดตาม ป.อาญา ม. ๓๖๒  ถ้าเขามาขุดหรือทำอะไรให้เสียหาย ก็อาจผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตาม ม. ๓๕๘

    ๒. ขึ้นอยู่กับว่าราษฎรนั้นมีกรรมสิทธิในที่ดินนั้นจริงหรือไม่ หรือเข้าใจเอาเองว่ามีกรรมสิทธิ์

    ๓. รัฐธรรมนูญคุ้มครองคนทุกคนเสมอเหมือนกันหมด เมื่อเวลาที่ราษฎรบุกรุกที่ของรัฐ หรือทำให้ที่ดินของรัฐเสียหาย รัฐก็ต้องดำเนินการฟ้องร้อง เพราะไม่ฟ้องคนที่รับผิดชอบก็อาจผิดเสียเอง นอกจากนั้น เวลาที่รัฐฟ้อง รัฐก็ต้องใช้เงินภาษีอากรหรือใช้คนของรัฐฟ้องร้องอยู่ดี

    ๔. เมื่อรัฐมีข้อพิพาทกับเอกชน ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านธรรมดาหรือผู้มีอำนาจ  ก็ต้องตัดสินกันที่ศาล จะว่าไม่ยุติธรรมก็ไม่ได้

    ๕. รัฐเป็นนามธรรม จึงจำเป็นต้องมีคนคอยดูแลรักษาประโยชน์ของรัฐ  เมื่อเวลามีปัญหาอัยการก็ต้องดำเนินคดีแทนรัฐ มิฉะนั้นเราคงจะไม่เหลืออะไร เพราะคนมีอิทธิพลก็อาจเอาทรัพย์สินของรัฐไปได้อย่างลอยนวล

    ๖.- ๙  ถ้ารัฐทำผิด รัฐก็ต้องชดใช้ให้ เหมือนกับคนทั่วไปเหมือนกัน  เมื่อรัฐชดใช้แล้ว ก็ต้องกลับไปสอบสวนทวนความว่า ใครเป็นต้นเหตุที่ทำให้รัฐไปละเมิดคนอื่น แล้วก็ไปไล่เบี้ยเอาจากคนนั้น

        กฎหมายนั้นอ่าน ๆ ไปก็พอเข้าใจได้ แต่จะให้ีเชี่ยวชาญถึงขนาดจะไปว่าความ หรือต่อสู้กับรัฐนั้น จำเป็นต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างมาก  คนทั่วไปไม่สามารถอ่านกฎหมายเพียงผ่านตา แล้วจะไปดำเนินเนินคดีสู้กับรัฐซึ่งมีอัยการที่เชี่ยวชาญได้ เขาถึงต้องมีทนายความ  เหมือนกับคนป่วย จะรักษาเองตามมีตามเกิดเท่าที่ตัวเองมีความรู้ ก็เสี่ยงต่อความตายได้ เขาถึงให้ไปหาหมอ เพื่อจะได้รู้สมุฐานของโรค เมื่อรู้ว่าเป็นอะไรแล้ว บางทียังพอหายามากินเองได้บ้าง  การเริ่มต้นในการดำเนินคดีนั้น จำเป็นต้องรู้พื้นฐานว่าเรื่องราวเป็นอย่างไร และปรับเข้ากับกฎหมายข้อไหนอย่างไร จะมีช่องทางในการต่อสู้อย่างไร  ถ้าเริ่มต้นผิด ก็มักจะแพ้คดี แล้วก็เลยอาจจะนึกว่าไม่มีความเป็นธรรมได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    18 กุมภาพันธ์ 2556