กรรมเดียวหลายบท/ต่างกรรมต่างวาระ คดีใช้เอกสารเท็จครอบงำบริษัท
นาย A กับ น.ส. B เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นบริษัท
A และ B ร่วมกันทำรายงานการประชุมเท็จเพื่อลงมติเพิ่มทุนบริษัท จาก 1 ล้านบาท เป็น 2 ล้านบาท โดยนำรายงานการประชุมเท็จไปจดแจ้งเพิ่มทุนเรียบร้อยแล้ว
ต่อมาก A ออกหนังสือแจ้งสิทธิซื้อหุ้นเท็จ (คือออกหลังสือลงวันที่ย้อนหลัง) ทำให้ผู้ถือหุ้นคนอื่นเสียสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนไปโดยอัตโนมัติ ทำให้หุ้นเพิ่มทุนทั้งหมด A และ B ถือกันแค่ 2 คน ส่งผลให้ทั้ง A และ B เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในทันที
และ A กับ B ก็เอาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นไปจดแจ้ง พร้อมกับส่งงบการเงินประจำปี โดยไม่ได้มีการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีแต่อย่างใด แต่ตอนจดแจ้งก็แจ้งเท็จไปว่าได้ประชุมแล้ว
ความผิดถ้าเรียงตามลำดับการกระทำก็น่าจะ
1. ตอนเพิ่มทุน => แจ้งความเท็จเรื่องมติพิเศษเพิ่มทุน (เพราะไม่มีการประชุมจริง)
2. ตอนทำหนังสือแจ้งเท็จ => พรบ.กำหนดความผิดฯ ลงความเท็จในเอกสารสำคัญลวงผู้ถือหุ้นเสียประโยชน์ (เพราะเป็นหนังสือลงวันทีย้อนหลัง)
3. ตอนส่งงบการเงิน =>
แจ้งรายชื่อผุ้ถือหุ้นเท็จ(เพราะหุ้นใหม่ได้มาโดยไม่ถูกต้องตามกฏหมาย) ,
แจ้งงบดุลเท็จ(เพราะยังไม่ได้อนุมัติในที่ประชุมใหญ่) ,
แจ้งการประชุมสามัญเท็จ (เพราะยังไม่ได้มีการประชุมจริง)
อยากรบกวนถามความเห็นอาจารย์ว่า เคสแบบนี้ จะเป็น "กรรมเดียวผิดหลายบท" หรือ "ต่างกรรมต่างวาระ" ครับ เพราะถ้ามองว่า A และ B ครอบงำบริษัทโดยมิชอบก็น่าจะ กรรมเดียว แต่ถ้ามองว่า แต่ละกรรมมันมีความผิดสำเร็จในตัวมันก็น่าจะต่างกรรมกันไป
ขอบคุณครับ |