ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049105 เป็นหุ้นส่วนของ หจก.ได้หรือไม่คุณครู1 พฤษภาคม 2556

    คำถาม
    เป็นหุ้นส่วนของ หจก.ได้หรือไม่
    เรียน ท่านอาจารย์ มีชัย ที่เคารพ
          กระผมเป็นคร ข้าราชการครู มีเงินเก้บอยู่จำนวนหนึ่ง แต่อยากหารายได้เสริมโดยการ ร่วมเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ใน หจก. ของเพื่อน  ซึ่งจากเดิมมีผู้ถือหุ้น มี 2 คน แต่ในมาตรา 92 แห่ง พรบ.ครู กำหนดว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดารงตาแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท.
         กระผมจึงอยากถามอาจารย์ว่า
              1.  กระผมสามารถสมัครเป็นหุ้นส่วนของ หจก. ได้หรือไม่
              2.  ข้าราชการไปถือหุ้น ใน หจก. เป็นการไม่ควรกระทำหรือไม่ครับ
           ด้วยความเคารพอย่างสูง
             คุณครู
    คำตอบ

    1.  การเข้าเป็นหุ้นส่วน ไม่สามารถทำได้โดยการสมัคร  หากแต่เป็นเรื่องที่ต้องไปร่วมลงทุนกับเขา  ถ้ามีใครเขามาชวนให้คุณสมัครเป็นหุ้นส่วนของ หจก. แปลว่าเขากำลังจะหลอกคุณแล้ว โดยเฉพาะถ้ายิ่งให้คุณเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ยิ่งต้องระวัง เพราะหุ้นส่วนผู้จัดการ คือคนที่ต้องรับผิดในหนี้ของ หจก. โดยไม่จำกัดจำนวน  มีหนี้กี่ร้อยล้าน ก็ต้องรับผิดทั้งหมด  แม้ว่าเขาจะอ้างว่าให้คุณเป็นผู้จัดการ แต่ถ้าเป็นแต่เพียงในนาม ก็จะยิ่งหนักเข้าไปอีก เพราะนอกจากจะต้องรับผิดในหนี้สินแล้ว ยังต้องผิดรับผิดในทางอาญาอีกด้วย ควรระวังให้ดี

    2. ถ้าเพียงแต่ถือหุ้น ประเภทจำกัดความรับผิด ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ก็จะต้องห้าม


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    1 พฤษภาคม 2556