ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049135 บทบาทของสภากับการวางระบบบริหารเชื่อมั่นในตัวท่าน เชื่อมั่นคุณธรรม นำราชนครินทร์8 พฤษภาคม 2556

    คำถาม
    บทบาทของสภากับการวางระบบบริหาร

    เรียนท่านอาจารย์มีชัย

        ด้วยความเคารพและเชื่อมั่น ดิฉันขออนุญาตกล่าวคำขอบพระคุณอาจารย์ที่ช่วยจรรโลงสังคมอีกทางหนึ่ง ทั้งเสียสละเวลา ทั้งการเผยแพร่ความรู้ มุมมอง แนวคิด และการอุทิศเวลาช่วยเหลือและสร้างประโชน์ต่อสังคม

    ในส่วนของ มรภ.ราชนครินทร์ ดิฉันเป็นอาจารย์ผู้สอนผุ้หนึ่ง ที่ติดตามระบบการบริหารและข่าวสาร ที่จะส่งผลต่อความเคลื่อนไหวของมหาวิทยาลัยในทุกด้าน โดยเฉพาะทิศทางและการตัดสินใจ ในการประชุมของสภามหาวิทยาลัย เพราะนั่นหมายถึงการชี้ทิศของมหาวิทยาลัย และการที่ท่านนายกได้กำชับให้มีการเผยแพร่ข้อมูลผลการประชุมของสภามหาวิทยาลัยนับเป็นวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล อีกช่องทางหนึ่งที่จะลดความสงสัยในทิศทางการบริหาร เพราะหากไม่เป็นที่เปิดเผย ก็อาจจะเป็นบ่อเกิดแห่งคำถาม และสร้างข้อขัดแย้งต่อกัน   นั้นหมายถึงว่าดิฉันเคยมีอคตินี้มาก่อน :) และอคติที่สำนึกได้จากการตอบตำถามครั้งที่แล้วของท่านอาจารย์ถึงการให้เกียติต่อกันในการทำงาน รวมทั้งผู้บริหาร และการตัดสินใจต่างๆ ของสภา

    อย่างไรก็ตาม การให้เกียรติ และยอมรับนั้นย่อมอยู่ภายใต้การทำงานที่มีระบบ ตรวจสอบได้ ซึ่งระบบเหล่านี้จะทำให้เกิดการยอมรับกันได้ โดยไม่จำเป้นว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบบุคคลหรือผุ้บริหารนั้นๆ ใช่หรือไม่คะ อันนี้เป้นคำถามข้อที่ 1

    คำถามข้อที่ 2 ระบบการทำงานงานสภาฯ ที่บุคคลทั้งภายในภายนอกตรวจสอบได้ มีหรือไม่คะ ในประเด็นอะไรบ้าง

    คำถามข้อที่3 ในกรณีที่ดิฉันในฐานะเป็นอาจารย์ผุ้หนึ่ง ดิฉันจะมีช่องทางที่จะถามหรือเสนอข้อคิดเห็นต่อสภาโดยตรงได้หรือไม่ อย่างไร โดยไม่ต้องการให้เกิดคุณหรือโทษแก่ตนเอง

    คำถามข้่อที่ 4 การกำหนดทิศทางนโยบายของสภาฯ จำเป็นจะตัองให้มีการดำเนินการตลอดระบบหรือไม่ สภามีบทบาทอย่างไรหากเรื่องที่อนุมัติไปแล้วไม่ได้มีแนวไปสู่การปฎิบัติ  เช่น ในกรณี สภาฯอนุมัติการสร้างหอพักโดยใช้งบรายได้ และมติที่ประชุมระบุเงื่อนไขว่า หอพักที่จะสร้างค้องมีการตืนรายได้ใน 7 ปี แต่ก็ไม่ได้มีระบบให้วิเคราะห๋ก่อนว่าที่อนุมัตและกำหนดเงื่อนไขไว้นั้นมีความเป้นไปได้หรือไม่ จำเป็นแค่ไหน  รวมทั้งไม่ได้มีระบบกำกับว่าถ้าเป้นไปได้ จะมีการคืนในรูปไหน อย่างไร ใครสานต่อ  

    ท้่านอาจารย์ได้โปรดอย่าเคลือบแคลงสงสัยในเจตนาของการถามที่อาจดูเหมือนมีอคติและความไม่ไว้ใจ และไม่เชื่อมั่นในคณะกรรมการสภาฯ ของดิฉันเลยนะคะ แต่เชื่อมั่นว่าหากระบบดี ชัดเจน รัดกุม ก้จะนำไปสู่การปฎิบัติในทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมค่ะ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    คำตอบ

    1.  ก็น่าจะใช่ ข้อสำคัญการทำงานในองค์กรนั้น เป็นเรื่อง ๒ ทาง คือต่างฝ่ายต่างต้องมีความมุ้่งดีต่อกัน เพื่อประโยชน์ขององค์กร ข้อสงสัยหรือข้อคิดที่แตกต่าง ไม่จำเป็นต้องทำให้กลายเป็นศัตรูกัน  และที่สำคัญต่างฝ่ายต่างต้องทำหน้าที่ของตน และรับผิดชอบตามภาระหน้าที่ของตน

    2. การเผยแพร่รายงานการประชุมและผลการประชุมของสภาก็เป็นทางหนึ่งที่จะทำให้มีความสัมพันธ์และรับรู้การทำงานของสภา ข้อขัดข้องอย่างหนึ่งก็คือ บุคลากรมักจะไม่ได้อ่าน และมักจะหงุดหงิดกับความไม่รู้ความเป็นไป  แต่เมื่อไม่อ่าน ก็ยากที่ใครจะช่วยทำอะไรให้ได้  นอกจากการเผยแพร่ดังกล่าว ในเวลาที่สภาจะออกข้อบังคับใดที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับบุคลากร ก็จะให้ส่งให้บุคลากรได้อ่านและเสนอความเห็นได้อยู่เสมอ

    3. ข้อเสนอใด ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร บุคลากรย่อมเสนอโดยผ่านสภาคณาจารย์ได้เสมอ หรือจะเสนอตรงต่อนายกสภาก็ย่อมได้ ไม่มีปัญหาอะไร

    4. ในเวลาที่สภาอนุมัติเรื่องใด ก็จะมีวิธีคิดของสภาในการดูว่าจะสามารถปฏิบัติได้  ในกรณีการสร้างหอพักนั้น ในชั้นแรกฝ่ายบริหารจะขอกู้เงินโดยวิธีเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร โดยจะชำระเงินต้นคืนได้ภายใน ๗ ปี ซึ่งทางธนาตารวิเคราะห์แล้วว่าเป็นไปได้  เมื่อสภาอนุมัติให้ใช้เงินของมหาวิทยาลัยไปดำเนินการ จึงใช้ระยะเวลาดังกล่าวเป็นตัวกำหนดว่าจะต้องคืนทุนภายใน ๗ ปี ตามที่เคยมีการวิเคราะห์ไว้  ที่ถามว่าใครจะเป็นผู้ปฏิบัติ คำตอบก็คือ ฝ่ายบริหารซี ที่จะต้องปฏิบัติ  อนึ่ง การสร้างหอพักนั้น เป็นความจำเป็นที่จะต้องทำเพราะมิฉะนั้นก็จะเกิดปัญหาในการหาที่พักของนักศึกษาไม่จบสิ้น เมื่อมีเงินทำได้ก็ต้องทำ  เหมือนกับการให้ทุนอาจารย์ไปศึกษาต่อ ซึ่งเป็นความจำเป็นที่จะต้องทำ เมื่อฝ่ายบริหารเสนอมา จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่สภาจะไปขัดข้อง

           คำถามที่มีเหตุมีผล จะไปเคลือบแคลงสงสัยได้อย่างไร


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    8 พฤษภาคม 2556