ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049166 นายจ้างจ่ายเงินเดือนต่ำกว่าสัญญาว่าจ้างนายสุวัฒน์ สายวรรณ์15 พฤษภาคม 2556

    คำถาม
    นายจ้างจ่ายเงินเดือนต่ำกว่าสัญญาว่าจ้าง

    นายจ้างเป็นบริษัทมหาชนทำสัญญาว่าจ้างเป็นแบบไม่มีระยะเวลา ระบุเงินเดือนไว้ชัดเจน แต่ถึงเวลาจ่ายเงินเดือนต่ำกว่าสัญญาว่าจ้าง   กรณีนี้ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้าง คือเงินเดือน เงินปี (โบนัส) ในส่วนที่นายจ้างจ่ายต่ำกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาได้หรือไม่ ?  กฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้ฟ้องร้องได้โดยมีอายุความ 2 ปี หรือ 5 ปี กันแน่ เพราะว่า มาตรา 193/33 (4) ระบุว่าเงินค้างจ่าย คือเงินเดือน เงินปี และเงินอื่น ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา  กำหนดอายุความ 5 ปี   แต่ มาตรา 193/34 (8) ระบุลูกจ้างซึ่งรับใช้การงานส่วนบุคคลเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นเพื่อการงานที่ทำ  และมาตรา 193/34 (9) ระบุลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นได้  โดยที่ทั้งมาตรา 193/34(8) และ (9) มีอายุความ 2 ปี

    จึงไม่เข้าใจว่าแต่ละมาตราที่กล่าวมามีความแตกต่างกันอย่างไร (โดยเนื้อหาสาระ) และกรณีที่สอบถามดังกล่าวข้างต้นจะนับอายุความ 2 ปี หรือ 5 ปี โดยนับจากวันที่ในสัญญาจ้าง  หรือนับจากวันที่ลาออก หรือนายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงาน

               กราบเรียนสอบถามมาด้วยความเคารพอย่างสูง และขอให้ท่านจงมีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว และเป็นผู้สร้างปัญญาให้เกิดขึ้นกับผู้สงสัยได้รับความรู้ตามหลักกฎหมายที่ถูกต้องตลอดไป

     

    คำตอบ

    ต้องถือตาม ม. 193/34 (9)


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    15 พฤษภาคม 2556