ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049247 การอ่านคำเบิกความประชาชน6 มิถุนายน 2556

    คำถาม
    การอ่านคำเบิกความ

    กราบเรียนท่านอาจารย์มีชัย  ด้วยความเคารพ

              ผมได้รับความรู้จากการอ่านอีเมลล์ที่ท่านให้ความรู้  ตอบปัญหา  ข้อสงสัยในข้อกฏหมายให้ประชน เป็นประจำ  และเคยกราบเรียนปรึกษาข้อสงสัย ขอข้อแนะนำในแง่กฎหมายต่าง ๆ จากท่าน    ท่านตอบทุกครั้ง  กราบขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงครับ  ครั้งนี้  ผมมีข้อสงสัย     เนื่องจากผมถูกฟ้องคดีอาญา (คดีบุกรุก มาตรา  360) ผมแพ้คดีครับ  และผลจากคดีอาญา  โจทก์เล่นไม่เลิกครับ  ผมถูกฟ้องแพ่ง ต่อจากอาญา  ในคด้แพ่งผมก็เป้นโจทก์ฟ้องแย้งคู่กรณีด้วย ขออนุญาตเรียนปรึกษา  และขอคำแนะนำจากท่านอีก ดังนี้ครับ

    1. ในฐานะจำเลย  หรือในฐานะโจทก์ในการเบิกความ จะใช้วิธีการอ่านข้อความที่เขียนมา  ร่างมาได้หรือไม่  ศาลท่านจะอนุญาตหรือไม่  หรือมีข้อห้าม กฎหมายไม่ให้คู่กรณีอ่านคำเบิกความ     ความรู้สึกส่วนตัวของผมคิดว่า  ถ้าเบิกความด้วยวาจา  โดยใช้สมองคิด  ปากพูด   บางทีสาระสำคัญที่จะมีผลต่อคดี    หรือการอ้าง กฎหมาย ปอ, ปพพ. ประกอบคำเบิกความ อาจจะผิดพลาด  หรือหลงลืมกฎหมายบางมาตราที่ต้องการอ้างอิงได้ครับ

    2.ในฐานะจำเลย  ที่เป้นฝ่ายแก้ข้อกล่าวหา หรือในฐานะโจทก์ที่ฟ้องคดีเขา    ในการเบิกความทั้ง 2 ฝ่าย   ใช้วิธีการอ่านข้อความที่เขียนมา (หากศาลท่านอนุญาต) ร่างมาก่อน   และระบุ มาตรา ปอ. ,ปพพ. ต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้อง  เช่น ปพพ.1330,ปพพ.,1337,ปพพ.1339  ปพพ.420,421,422,424  หรืออ้าง ปอ.360,362,,363 ฯลฯ  หากเบิกความโดยใช้สมองคิด  ปากพูด   ไม่ร่างมาก่อน  คงลืมครับ หากระบุมาตราผิดพลาดเป็นอะไรหรือไม่ครับ  เพราะไม่ใช่นักกฎหมาย,ทนาย,อัยการ,เพียงแค่อ่านมาและจดเอาไว้  ถ้าไม่เขียนไปคงลืมครับ

    3.จากคำถามในข้อ 2  ทั้งในฐานะจำเลย  หรือในฐานะโจทก์ ผมให้ทนายพิมคำเบิกความแก้คดี ในฐานะเป็นจำเลย และฟ้องแย้งคุ๋กรณีในฐานะโจทก์  ให้ทนายพิมพ์ระบุ ข้อกฎหมาย  มาตราต่าง ๆ  ทั้ง ปอ. ,ปพพ.    ที่เกี่ยวข้อง  เช่น ปพพ.1330,ปพพ.,1337,ปพพ.1339  ปพพ.420,421,422,424  หรืออ้าง ปอ.360,362,,363ฯลฯ ไปด้วยในการพิจารณาคดีแพ่ง    ทนายตอบว่าไม่ควรลง  เพราะเป็นข้อกฎหมาย  กลัวผิดพลาด 

             ทนายแนะนำถูกหรือไม่ครับ  ( เพราะความคิด  ความรู้สึกส่วนตัว  ผมคิดว่า) หากไม่ระบุมาตรา  ข้อกฎหมายในคำเบิกความแก้คดี  หรือระบกฎหมาย มาตราต่าง ๆ  ศาลท่านมีภาระในการพิจารณาคดีมากมาย   หรือให้ศาลท่านพิจารณาเอาเองว่าผิดกฎหมายใด  มาตราใด   เช่นผม(โจทก์)เข้าใจว่าเขาผิด ปพพ.1330 ,420421,423 ฯ ในเมื่อเราไม่ระบุ  ศาลท่านอาจลืมพิจารณามาตรานี้   ลงกราบเรียนปรึกษาท่านอาจารย์ ว่าการระบุมาตรา หรือไม่ระบุมาตราใดเลย  ข้อใดดีกว่ากัน มีข้อได้เปรียบ เสียเปรียบอย่างไร

    4.ในการระบุข้อกฎหมาย หรือมาตราต่าง ๆ  ประกอบการเบิกความด้วยวาจา  หรือใช้วิธีอ่าน   ผมไม่กล้าปรึกษาทนายครับ  เพราะผมให้เขาระบุ  แต่เขาไม่พิมพ์มาตราใด ๆ ให้  (เลยคิดว่าเขาเดิมพันทั้งสองฝ่าย  เหมือนเล่นตีไก่ เล่นไก่ชน ใครชนะก็ได้  ผมให้เกียรติทนายครับ  แต่ไม่ประมาท  ไม่ไว้ใจ)  ผมเลยขอความเมตตาจากท่าน   ได้โปรดกรูณาอย่าได้ตอบว่าท่านไม่ใช่ทนาย...นะครับ

           กราบขอบพระคุณด้วยความเคารพอย่างยิ่ง

    คำตอบ

    1.-2. ถ้าในฐานะจำเลย ก็ไม่จำเป็นต้องให้การ  แต่ถ้าจะขึ้นให้การในฐานะพยาน เขาก็ไม่ให้นำข้อความมาอ่าน เพราะเขาต้องการความจริงที่เกิดขึ้น  สำหรับการอ้างมาตราต่าง ๆ ตามกฎหมายนั้น เมื่อไม่ใช่เป็นนักกฎหมาย ก็จะไปอ้างให้เหนื่อยยากทำไมล่ะ เพราะศาลท่านรู้เองอยู่แล้ว  ขนาดเป็นนักกฎหมายเขายังไม่อ้างเลย

    3. ถ้าเป็นคำฟ้อง หรือคำให้การ ก็ระบุได้ เพราะมีเวลาไปเปิดดูได้ แต่ถ้าเป็นการให้การในฐานะพยาน ก็ไม่จำเป็น เพราะศาลท่านไม่ได้อยากรู้ข้อกฎหมาย ท่านอยากรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น  คุณเล่าไปตามที่เป็นจริงตามที่ทนายเขาซักก็พอ

    4. เขาคงไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก เพียงแต่คุณคิดว่าคุณรู้กฎหมายดีกว่าเขา  ถ้าเป็นเช่นนั้น คุณก็ควรเขียนคำให้การเอง แล้วให้เขานำไปยื่นต่อศาลได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    6 มิถุนายน 2556