ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049353 การอายัดเงินกับข้าราชการนัท3 กรกฎาคม 2556

    คำถาม
    การอายัดเงินกับข้าราชการ

    เรียน อาจารย์มีชัย
           ก่อนหน้าผมเคยทำงานเป็นลูกจ้างถูกบังคับคดีอายัดเงินเดือนจากคดีค้ำประกัน แต่ปัจจุบันผมไม่ได้ทำงานแล้วครับ ถ้าหากผมจะ

    เข้าทำงานราชการ พี่สาวบอกว่าเงินเดือนราชการนั้นจะอายัดไม่ได้

         อยากเรียนถามอาจารย์ว่าผมเข้าใจอย่างนี้ถูกต้องไหมครับ
    1. จะไม่มีเอกสารอายัดเงินจากบังคับคดีไปถึงหน่วยงานที่ทำหน้าที่จ่ายเงินเดือนแก่ข้าราชการ (ใช่กรมบัญชีกลางไหมครับ)
    2. จะไม่มีเอกสารอายัดเงินจากบังคับคดีไปถึงธนาคารที่เป็นเจ้าของบัญชีที่ใช้จ่ายเงินเดือนแก่ข้าราชการ (ต้องเป็น ธ.กรุงไทยอย่าง

    เดียวหรือเปล่าครับ)
    3. สมมุติว่าผมมีบัญชี 2 เล่ม บังคับคดีจะสืบรู้ได้เองใช่ไหมครับว่าเล่มหนึ่งเป็นบัญชีเงินเดือนของข้าราชการแล้วจะไม่มียุ่งกับบัญชีเล่มนี้

    ขอขอบพระคุณอาจารย์มากครับ

    คำตอบ

    1-2   ไม่รู้เหมือนกันว่าจะมีหรือไม่ เพราะเดาไม่ได้

    3. กรมบังคับคดีเขาไม่สืบหรอก  แต่เจ้าหนี้เขาจะเป็นคนสืบ แล้วไปแจ้งให้กรมบังคับคดีดำเนินการ

         ที่คุณคิดอยู่น่ะ เป็นการคิดเพื่อจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระหนี้ ซึ่งเสียเวลาคิดเปล่า ๆ ควรใช้เวลาไปคิดว่าจะหาเงินที่ไหนไปชำระหนี้เขาให้ครบถ้วน หรือไปเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้เพื่อให้เขาผ่อนปรนให้สามารถชำระหนี้ได้  เพราะเจ้าหนี้เขามีวิธีที่จะทำให้คุณเดือดร้อนได้เป็นร้อยวิธี  มิฉะนั้นเขาคงไม่สามารถทำธุรกิจด้านนี้ได้หรอก 


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    3 กรกฎาคม 2556