ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049526 การบังคับใช้พรบ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พงษ์สฤษฎิ์ รอดเรืองเดช24 สิงหาคม 2556

    คำถาม
    การบังคับใช้พรบ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

    เรียนถามท่านอาจารย์ว่า กรณีรัฐวิสาหกิจถือหุ้นในบริษัทจำกัด 100% ทำให้บริษัทจำกัดนั้น มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจด้วย ซึ่งพนักงานในบริษัทจำกัดนั้นก็เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ใช้พรบ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ

    คำถามคือ ทำไมไม่ใช้พรบ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ มาคุ้มครองลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทจำกัดแห่งนั้นครับ ผมดูในมาตรา 5 และ มาตรา 6 แห่งพรบ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ระบุว่า

    มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

    ให้รัฐวิสาหกิจทั้งหลายอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ไม่ว่ากฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจนั้นหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องจะกำหนดไว้เช่นใดก็ตาม เว้นแต่รัฐวิสาหกิจที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง

    มาตรา ๖ ในพระราชบัญญัตินี้

    “รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า
    (๑) องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้น และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ
    (๒) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่กระทรวง ทบวง กรม หรือทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่า หรือรัฐวิสาหกิจตาม (๑) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ

    ซึ่งน่าจะหมายความว่า ต่อให้บริษัทจำกัดที่ผมพูดถึง ไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจตามความหมายในมาตรา ๖ (๑) และ (๒) แต่มาตรา ๕ กำหนดให้พรบ.นี้ บังคับใช้กับรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง ยกเว้นรัฐวิสาหกิจที่กำหนดในพระราชกฤษฏีกา ดังนั้น หากไม่มีกำหนดไว้ในกฤษฎีกา พนักงานของทุกรัฐวิสาหกิจก็ต้องได้รับความคุ้มครองตามพรบ.นี้

    ผมเข้าใจถูกใช่ไหมครับ?

    ขอความกรุณาช่วยไขข้อข้องใจด้วยครับท่านอาจารย์

    ขอบคุณครับ

    คำตอบ
    กฎหมายใช้บังคับทั้งสองฉบับนั่นแหละ  พรบ.คุณสมบัติมาตรฐานฯ ใช้เป็นกรอบที่ทุกรัฐวิสาหกิจจะต้องมีมาตรฐานเดียวกัน จะไปออกข้อบังคับอะไรให้แตกต่างไปไม่ได้  ส่วนพรบ.แรงงานรัฐวิสาหกิจ เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    24 สิงหาคม 2556