ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049565 มติที่ประชุมใหญ่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่ผิดข้อบังคับวัชรพัฒน์5 กันยายน 2556

    คำถาม
    มติที่ประชุมใหญ่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่ผิดข้อบังคับ

    สวัสดีครับ

    เมื่อต้นปีได้มีการ ประชุมใหญ่เพื่อลงมติเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บค่าส่วนกลาง โดยคะแนนเสียงให้เปลี่ยนแปลงมีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งได้ 14 ต่อ 10 เสียง ที่ประชุมจึงสรุปให้มีการเปลี่ยนค่าส่วนกลางตามมตินี้
    แต่หลังจากนั้น 2 เดือนมีสมาชิกแย้งว่า ตามข้อบังคับของหมู่บ้านระบุว่า การเปลี่ยนแปลงค่าส่วนกลางต้องใช้คะแนนเสียงที่ประชุมใหญ่ 2 ใน 3 จึงจะเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งข้อบังคับของหมู่บ้านกำหนดไว้เช่นนั้นจริง
    แต่ทางกรรมการหมู่บ้านได้นำกฎกระทรวงว่าด้วยการบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัด สรรมาอ้าง: http://www.dol.go.th/dol/images/medias/dol/example/low_ministry /low_register.htm โดยในข้อที่ 15 ได้ระบุไว้ว่า "ในการประชุมใหญ่ครั้งใด ถ้าได้มีการประชุมหรือการลงมติโดยไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อบังคับ สมาชิกอาจร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติในการประชุมครั้งนั้นได้แต่ต้องร้องขอต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติ"
    จนบัดนี้มตินั้นได้ออกมาประมาณ 6 เดือนแล้ว และไม่มีผู้ไปร้องขอเพิกถอนมติ
    คำถามคือ จะสามารถสรุปได้หรือไม่ว่ามติดังกล่าวนั้นเป็นมติที่ถูกต้องและสมาชิกต้องปฏิบัติตาม ขอบคุณครับ

    คำตอบ
    ก็เมื่อมติที่ประชุมไม่ได้เสียง สองในสาม ก็แปลว่าข้อเสนอที่จะให้ขึ้นค่้าส่วนกลางเป็นอันตกไป ไม่อาจขึ้นได้  ไม่จำเป็นต้องไปร้องขอให้เพิกถอน เพราะเท่ากับไม่มีมติให้ขึ้นค่าส่วนกลาง
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    5 กันยายน 2556