ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049667 ชคบ เพิ่มข้อมูลแสงจันทร์16 ตุลาคม 2556

    คำถาม
    ชคบ เพิ่มข้อมูล

    16  ตุลาคม 2556

    เรียนคุณมีชัยที่นับถือ

    ขออนุญาตเพิ่มข้อมูล   (ที่จริงก็ขอตื้อถามอีกทีนั่นแหละคะ  อย่าพึ่งรำคาญนะคะ  ข้าผู้น้อยไม่มีที่พึ่งอื่นเจ้าคะ เพิ่มข้อมูล

    คำถามที่   049656  และ  049657  คำอุทธรณ์ของอธิบดีกรมบัญชีกลางขัดข้องทางเทคนิคคะใช้วิธีตัดแปะเพื่อความรวดเร็วแต่ข้อมูลมาไม่ถึงท่าน

     

    ในคำอุทธรณ์อธิบดีกรมบัญชีกลาง  ได้ขออุทธรณ์คำพิพากษาของศาลปกครองเชียงใหม่ว่า

                                    บทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้  มาตรา  ๔๑๒  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  บัญญัติไว้โดยสรุปว่า   ถ้าทรัพย์สินซึ่งได้รับไว้เป็นลาภมิควรได้นั้นเป็นจำนวนหนึ่ง  ผู้ซึ่งได้รับเงินจำนวนนั้นต้องคืนเต็มจำนวน  เว้นแต่เมื่อบุคคลได้รับไว้โดยสุจริต  จึงต้องคืนลาภมิควรได้เพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน  โดยที่กรณีของผู้ฟ้องคดีนั้น  ผู้ฟ้องคดีรู้อยู่แล้วว่าเงินบำนาญรายเดือนที่ได้รับของผู้ฟ้องคดีเพิ่มขึ้นจากเดิม  แต่ผู้ฟ้องคดีมิได้สนใจที่จะติดตามว่าคือเงินประเภทใด  และมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวหรือไม่  มีแต่เพียงคำกล่าวอ้างด้วยวาจาว่าผู้ฟ้องคดีได้สอบถามจากเจ้าหน้าที่การเงินมณฑลทหารบกที่  ๓๓  ว่าเป็นเงินอะไร  ซึ่งเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวได้อธิบายว่า  ทางรัฐบาลมองเห็นว่าผู้ที่ได้รับเงินบำนาญไม่ถึงห้าพันบาท  มีความเดือดร้อนด้านเศรษฐกิจจึงปรับเพิ่มเป็นเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ(ช.ค.บ.)  โดยเมื่อรวมกับบำนาญแล้วให้ได้รับห้าพันบาททุกคน   และต่อไปก็จะนำเงินดังกล่าวเข้าบัญชีให้  และการกล่าวอ้างก็มิได้มีหลักฐานหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือหารือเกี่ยวกับเงินดังกล่าวกับผู้ฟ้องคดีที่    แต่อย่างใด  กรณีดังกล่าวผู้ฟ้องคดีจึงไม่อาจอ้างได้ว่าผู้ฟ้องคดีเป็นบุคคลที่ได้รับเงิน  ช.ค.บ.  ไว้โดยสุจริต  อันจะนำบทบัญญัติมาตรา  ๕๑  วรรคสี่  แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง  พ.ศ.๒๕๓๙  ว่าด้วยกรณีเพิกถอนโดยให้มีผลย้อนหลัง  การคืนเงินที่ผู้รับคำสั่งทางปกครองไปได้  ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้

                                    ดังนั้นการที่ผู้ฟ้องคดีที่    มีหนังสือกรมบัญชีกลางด่วนมากที่  กค ๐๔๒๐.๖/๔๔๘  ลงวันที่    เมษายน  ๒๕๕๓  เรื่องการเรียกเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเกินสิทธิส่งคืนคลังที่ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่    เรียกคืนเงินจากผู้ฟ้องคดีและนำเงินส่งคืนคลัง  เป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว  ขอศาลปกครองสูงสุดได้โปรดพิจารณาพิพากษาให้ผู้ฟ้องคดีคืนเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญจำนวน  ๓๒๑,๘๕๗.๒๙  บาท  ที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิแก่ทางราชการต่อไป

     

    ที่ตัวหนังสือใหญ่ๆนั้นท่านอธิบดีเขียนเพิ่มเติมเองไม่ใช้ข้อความของดิฉันคะ

     

    ด้วยความนับถือ

    แสงจันทร์

    คำตอบ
    ต่อสู้ไปตามความเป็นจริงนั่นแหละ
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    16 ตุลาคม 2556