ปลัดอบต.ปฏิบัติหน้าที่นายกอบต. เรียน ท่านอาจารย์มีชัย ที่เคารพอย่างสูง ดิฉันอยากกเรียนถามท่านว่ากรณีนายอำเภอมีคำวินิจฉัยให้นายกอบต.พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากใช้อำนาจในการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตัวเองหรือผู้อื่น อันเป็นลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 58/1 (3) เป็นเหตุให้พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 64 วรรคหนึ่ง (4) แห่งพ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติิมถึงปัจจุบัน มีผลทำให้รองนายกฯและเลขานุการนายกฯ พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ตามประกาศค.ส.ช. ที่ 85 / 2557 เรื่องการได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 ข้อ 11 .ในกรณีผู้บริหารท้องถิ่นครบวาระหรือว่างลงให้ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปฏิบัติหน้าที่นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกรณ๊ที่กฎหมายกำหนดให้มีการบริหารงานบุคคล เรื่องใด เป็นอำนาจหน้าที่ผู้บริหารท้องถิ่น ปลัดองค์กรปกคองส่วนท้องถิ่น จะทำหน้าที่ตามวรรคหนึ่งได้ต่อเมื่องได้รับความเห็นชอบจากคณะข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด คณะกรรมการพนักงานเทศบาล หรือคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล แล้วต่อกรณ๊ จึงขอเรียนถามประเด็นข้อเท็จจริงดังนี้ 1. ปลัดอบต.ปฎิบัติหน้าที่นายกอบต.เป็นผู้เสนอญัตติร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ต่อประธานสภาอบต.เพื่อนำเสนอสภาอบต.พิจารณาให้ความเห็นชอบนั้น ขณะเดียวกันปลัดอบต.เป็นเลขานุการสภาอบต. ทำหน้าที่จัดทำระเบียบวาระการประชุม บันทึกการประชุมสภาและชี้แจงระเบียบข้อกฎหมายต่อสภาฯได้รับทราบ แต่ไม่มีสิทธิยกมือลงมติให้ความเห็นชอบ หรืออนุมัติแต่ประกาศใด ตามข้อ 19 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน อยากเรียนถามว่าในกรณีที่ปลัดอบต.ปฏบัติหน้าที่นายกอบต.และเป็นเลขานุการสภาฯจะกระทำได้หรือไม่ เป็นการปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบกฎหมายหรือไม่ประการใด หมายเหตุปลัดอบต.เป็นเลขานุการสภาฯก่อนนายกฯพ้นจากตำแหน่ง 2. กรณีเป็นการปฏิบัติหน้าทีที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่สภาอบต.มีมติให้ความเห็นขอบ โดยการอนุมัติของนายอำเภอ และปลัดอบต.ปฏิบัติหน้าที่นายกได้ประกาศใช้แล้ว เริ่มตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 2559 จะเป็นโมฆะหรือไม่ |